Skip to content
บริษัท โค๊ดบี จำกัด บริษัท โค๊ดบี จำกัด
  • หน้าแรก
  • สมัครงาน
    • ร่วมงานกับเรา
    • นักศึกษาฝึกงาน
  • บริการของเรา
    • บริการรับทำเว็บไซต์
    • บริการทำแอพพลิเคชั่น
  • เครื่องมือ
    • ย่อลิงค์ ฟรี
    • ทำ Bio Link
    • ดาวน์โหลดวีดีโอ Tiktok ไม่มีลายน้ำ
    • รวมเครื่องมือ ฟรี
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
Category Other

วิธีตั้งค่า Email ใน Android ภายใต้โดเมนตัวเอง ( Custom Domain )

Author codebee Published on June 26, 2020 9 min read
วิธีตั้งค่า-Email-ใน-Android-ภายใต้โดเมนตัวเอง-(-Custom Domain )-0
วิธีตั้งค่า-Email-ใน-Android-ภายใต้โดเมนตัวเอง-(-Custom Domain )-0

เราอาจจะคุ้นเคยกับการใช้บริการอีเมลผ่านผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ ๆ อย่าง Gmail, Hotmail, Yahoo หรือ Sanook เป็นต้น

แต่เมื่อเราทำเว็บไซต์ และเปิดใช้งานออนไลน์ ติดตั้งเว็บไซต์นั้นบน Domain ที่จดทะเบียนแล้ว โดยส่วนมาก Package การให้บริการของ Hosting ทั่วไป จะอนุญาติให้เราจะสามารถใช้บริการอีเมล ภายใต้ชื่อโดเมนของเราเองได้ เช่น [email protected]

การใช้งานอีเมลภายใต้ชื่อโดเมนของเราเอง จะสามารถเข้าใช้งานผ่านบริการ webmail ของทางผู้ให้บริการ Hosting ที่ติดตั้งให้เราเรียบร้อยแล้วอย่าง roundcube การเข้าใช้งานผ่านจะเข้าผ่าน subdomain เช่น mail.domain.com หรือ domain.com/roundcube เป็นต้น

กรณีที่เราใช้งานในมือถือการใช้งานผ่านเว็บไซต์อาจจะไม่สะดวก และมีฟีเจอร์ที่ไม่ตอบโจทย์ ไม่มีระบบแจ้งเตือน

โดยปกติแล้วในระบบปฏิบัติการ Android จะมีแอป gmail เป็น Application ที่ติดมากับเครื่องและสามารถใช้ gmail เข้าระบบใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องตั้งค่าเพิ่มเติม แต่สำหรับอีเมลที่เป็น custom domain จำเป็นจะต้องตั้งค่าเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้งานได้เหมือนกับ gmail

ตั้งค่าใช้งาน วิธีตั้งค่า Email ใน Android ภายใต้โดเมนตัวเอง

  • ติดตั้ง Gmail Apps กรณีที่ยังไม่มีในเครื่อง จากนั้นเปิดแอปขึ้นมา คลิกที่ปุ่ม hamberger menu ( รูปขีดแนวนอน 3 ขีด ) เลือกไปที่ตั้งค่า และเลือกเพิ่มบัญชี จะมีตัวเลือกโผล่มาให้เราเลือกไปที่ อื่น ๆ
  • ต่อไปให้กรอกที่อยู่อีเมลของคุณที่เป็นโดเมนของคุณเอง เช่น [email protected] และเลือกรูปแบบ Mail Server ระหว่าง POP3 หรือ IMAP ในตัวอย่างจะเลือกรูปแบบเป็น IMAP กรอกรหัสผ่านและกดถัดไป

  • ในหน้าต่อไป Gmail จะให้เราระบุ Mail Server ขาเข้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็น ชื่อโดเมนของเรา หรือ mail.domain.com คือ มีคำว่า mail. และตามด้วยชื่อโดเมนของเรา ( กรณีไม่ทราบให้สอบถามทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง ) จากนั้นกดถัดไป กรณีเกิด Error ในขั้นตอนนี้ ให้เลือกไปที่ ขั้นสูง จากนั้นเลื่อนลงไปด้านล่างสุด และกด ทำต่อไป
  • ในหน้าต่อไป Gmail จะให้เราระบุ Mail Server ขาออก ให้ทำเหมือนเดิมครับ และระบุ SMTP Server เป็นชื่อโดเมนของเราเอง หรือ ขึ้นต้นด้วย smtp. เช่น smtp.domain.com ( กรณีไม่ทราบให้สอบถามทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง )

  • ในขั้นตอนต่อไปทาง Gmail จะให้เราตั้งค่าการใช้งานพื้นฐาน เช่น ความถี่ในการแจ้งเตือนอีเมลขาเข้า ซิงค์ข้อมูลเดิมจากบัญชี Gmail ที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น

  • ในขั้นตอนสุดท้าย Gmail จะให้เราตั้งชื่อบัญชี ที่จะแสดงในแอป กรอกชื่อที่เราต้องการและสื่อความหมาย กดถัดไป เป็นอันจบการตั้งค่า ถ้าทุกอย่างโอเค ระบบจะซิงค์ข้อมูลให้เราและมีการแจ้งเตือนดังขึ้นมาทันที

หลังจากตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลองทดสอบการทำงาน ทดสอบขาออกโดยการส่งอีเมลไปที่อีเมลสำรอง และทดสอบขาเข้าโดยการใช้อีเมลสำรอง ส่งอีเมลเข้ามาที่อีเมลที่เราตั้งค่าไว้ที่ Gmail

Post Views: 105
Email AndroidEmail Custom DomainEmail SettingGmail AppsGmail ตั้งค่าHosting Mail ตั้งค่าตั้งค่าอีเมล Androidวิธีตั้งค่า Email ใน Androidอีเมลโดเมน ตั้งค่า

ค้นหา




You may also like

Category Other

ลบภาพพื้นหลัง ฟรี ด้วย AI เนียนกริบ

Published on May 8, 2025 7 min read
Category Other

เว็บย่อลิงค์ใช้งานง่าย ไม่ต้องสมัครสมาชิก – uri.in.th ปี 2025

Published on April 16, 2025 6 min read
Category Other

10 ส่วนขยาย Google Chrome ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

Published on March 18, 2025 13 min read
Category Other

วิธีดาวน์โหลดวิดีโอ TikTok ไม่มีลายน้ำ

Published on February 15, 2025 6 min read

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

© 2025 codebee.co.th