Payment Gateway คืออะไร เลือกรูปแบบการชำระเงินบนโลกออนไลน์

รวม-online-payment-gateway
รวม-online-payment-gateway

Payment Gateway คืออะไร เลือกรูปแบบการชำระเงินบนโลกออนไลน์



Payment Gateway คืออะไร เลือกรูปแบบการชำระเงินบนโลกออนไลน์

Payment Gateway หมายถึง ช่องทางการชำระเงินบนโลกออนไลน์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาเว็บไซต์ในรูปแบบเว็บขายสินค้าออนไลน์หรือ eCommerce เว็บไซต์ ซึ่งจะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป ของแต่ละผู้ให้บริการ โดยทั่วไปแล้ว จะเป็นการทำงานผ่านระบบ Web Service API ของผู้ให้บริการเจ้านั้น ๆ


ในปัจจุบันจะแบ่งระบบ Payment Gateway เป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกัน คือ ระบบชำระเงินโดยการเชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง เช่น K-Payement Gateway และ ผู้ให้บริการที่เป็นตัวกลางการชำระเงิน เช่น omise, paypal, paysbuy เป็นต้น

K-Payement Gateway ( เค เพย์เมนท์ กสิกร )

เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ของธนาคารกสิกรไทย เปิดให้คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด สามารถขอใช้บริการได้ รายละเอียดการสมัคร จะมีข้อแตกต่างในเรื่องของเอกสาร และกฏข้อบังคับว่า ต้องเป็นเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องสินค้าอะไรบ้าง และต้องเปิดบัญชีกับทางธนาคารมียอดขั้นต่ำ 200,000 บาท อัตราค่าธรรมเนียมต่อยอดชำระจะอยู่ที่ประมาณ 3-5%
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเต้มได้ที่เว็บไซต์ https://www.kasikornbank.com/sme/k-payment-gateway

Paysbuy ( เพย์สบาย )

ผู้ให้บริการช่องทางการชำระเงินออนไลน์ ในลักษณะเป็นตัวกลางการชำระเงิน เป็นระบบ online payment ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ชำระผ่านบัตรเครดิต/เดบิต อินเตอร์เนต แบงค์กิ้ง หรือเค้าเตอร์เซอร์เวิส สามารถเปิดบัญชีได้ทั้งในนามบุคคลธรรมดาและบริษัท อัตราค่าธรรมเนียมต่อยอดชำระจะอยู่ที่ 3.5-4.2%


ตัวอย่างหน้าตาหน้า checkout ของ paysbuy
ชำระเงินผ่าน-paysbuy


สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเต้มได้ที่เว็บไซต์ https://www.paysbuy.com

Paypal ( เพย์พาล )

เป็นระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ รูปแบบคล้าย ๆ กับ Paysbuy มีระบบการเปิดบัญชีที่ไม่ยุ่งยาก นิยมใช้งานกันทั่วโลก มีเอกสารสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ค่อนข้างครบถ้วน ใช้งานได้หลายภาษาโปรแกรมมิ่ง อัตราค่าธรรมเนียมต่อยอดชำระจะอยู่ที่ประมาณ 4%


ตัวอย่างหน้าตาหน้า checkout ของ paypal
ชำระเงินผ่าน-paypal


สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเต้มได้ที่เว็บไซต์ https://www.paypal.com

ยังมีอีกหลายผู้ให้บริการ Online Payment Gateway จากทั่วโลก ที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์แนะนำเบื้องต้น ท่านสามารถศึกษาข้อมูลการให้บริการ เงือนไข และค่าธรรมเนียม เพื่อให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ของท่าน ก่อนเลือกใช้บริการ

สำหรับการเขียนโปรแกรมชำระเงินแบบออนไลน์ ท่านสามารถดูตัวอย่างการพัฒนเบื้องต้นของ paypal ได้ที่กระทู้
https://www.codebee.co.th/labs/เขียนโปรแกรมชำระเงินออ/