Hybrid & Native Application Development

พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแบบ Hybrid Application และ Native Application

ในขั้นตอนของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือโมบายแอพพลิเคชั่น มีเครื่องมือ ( Tool ) และภาษา ( Programming Language ) อยู่มากมายหลายภาษา ให้นักพัฒนาเลือกใช้ งาน ตามความเหมาะสมของงาน แต่ละเครื่องมือและภาษามีความสามารถที่แตกต่างกัน บางภาษาเหมาะกับการพัฒนาซอฟต์แวร์เกมส์ บางภาษาเหมาะกับการทำแอพพลิเคชั่นขนาดเล็ก บางภาษาเหมาะกับการจัดการข้อมูลจำนวนมาก ดังที่เราจะเห็นว่ามีแอพพลิเคชั่นมากมายหลายประเภทบน Online Store มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

Hybrid กับ Native ต่างกันยังไง ?

Native Application

เครื่องมือและภาษาหลักที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแฟลตฟอร์มนั้น ๆ โดยเฉพาะ

คือ การพัฒนาแอพลิเคชั่น โดยอาศัย เครื่องมือ และภาษา ที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้เหมาะสมกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ เป็นภาษาแม่ของ ระบบปฏิบัติการนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เครื่องมืออย่าง xcode และ ภาษา Objective-C หรือ Swift ถูกออกแบบมาให้ใช้พัฒนา mobile application บนระบบปฏิบัติการไอโอเอส iOS หรือ เครื่องมืออย่าง Android Studio, Android SDK และภาษาอย่าง JAVA ถูกเลือกให้ใช้ในการพัฒนา mobile application บนระบบปฏิบัติการแอนดรอย Andorid
ข้อดีของการพัฒนาแอพลิเคชั่นแบบ Native
- สามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการทำงานของ Platform นั้น ๆ ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
- ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด มีความยืดหยุ่นเอื่อประโยชน์ต่อนักพัฒนาสูงสุด
- ด้าน UX ( User Experience ) แอพพลิเคชั่นแบบ Native จะถูกพัฒนาอยู่บนพื้นฐาน System interface components ทำให้ End User คุ้นเคย และเข้าใจการใช้งานได้ดีกว่า
ข้อเสียของการพัฒนาแอพลิเคชั่นแบบ Native
- ใช้บุคลากรในการพัฒนาหลายคนและหรือใช้เวลาในการพัฒนาค่อนข้างสูง เพื่อสามารถให้รองรับการทำงานในแต่ละระบบปฏิบัติการ

Hybrid Application

เครื่องมือและภาษาที่ถูกพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติให้สามารถนำมาพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นได้

คือ การพัฒนาแอพลิเคชั่น โดยอาศัย Framework หรือ SDK ที่ถูกสร้างมาจากหลากหลายภาษา และมีเครื่องมือที่เหมาะสมกับ framework หรือ SDK นั้น ๆ ให้เลือกใช้ในการพัฒนาที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น Corona SDK ใช้ ภาษา lua , Adobe AIR ใช้ภาษา Action Script 3 หรือ UNITY ใช้ C# และ Javascript
ข้อเสียของการพัฒนาแอพลิเคชั่นแบบ Hybrid
- สามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการทำงานของ Platform นั้น ๆ ได้ไม่เต็มที่ อาจมีประสิทธิภาพการทำงานในบางฟังก์ชั่นด้อยกว่าการพัฒนาแบบ Native
- หากต้องการเข้าถึงฟังก์ชั่นการทำงานแบบ Native ต้องพัฒนาส่วนเสริม ( Extention ) ซึ่งก็ต้องพัฒนาร่วมกันระหว่างภาษาที่เป็น Native และ Hybrid
- ในด้าน UX ( User Experience ) แอพพลิเคชั่นแบบ Hybrid จะต้องพัฒนาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ใกล้เคียงกับ System interface components ของระบบปฏิบัติการนั้น ๆ มากที่สุด
ข้อดีของการพัฒนาแอพลิเคชั่นแบบ Hybrid
- ประหยัดทรัพยากรในขั้นตอนการพัฒนา เช่น เวลา ค่าใช้จ่าย ทรัพยากรบุคคลอย่างโปรแกรมเมอร์ เป็นต้น
- เป็นการพัฒนาแบบ Cross-Platform สามารถพัฒนาโดยใช้ชุดคำสั่งหรือภาษาใด ภาษาหนึ่ง ให้สามารถใช้งานได้ในหลายระบบปฏิบัติการ

จะเลือกใช้งานอย่างไร

การเลือกเครื่องมือและภาษาที่จะใช้ในการพัฒนาให้เหมาะสมกับงาน เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
บางเครื่องมือและภาษาเหมาะกับการพัฒนาซอฟต์แวร์เกมส์ ทั้งแบบ 2D และ 3D
บางเครื่องมือและภาษาเหมาะกับการทำแอพพลิเคชั่นขนาดเล็ก ติดตั้ง โหลดลงเครื่องและใช้งานได้เลย ประหยัดงบประมาณได้เยอะ
บางเครื่องมือและภาษาเหมาะกับการจัดการข้อมูลจำนวนมากมีการรับส่งข้อมูลระหว่าง Application และ Server API
เครื่องมือแต่ละตัว หรือภาษาทุกภาษา มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน
เลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน "put right tool on the right job"

ข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการทำแอพพลิเคชั่น

โทร 02-962-1556, 094-185-9962, 085-900-3405

ติดต่อเฉพาะวันและเวลาทำการเท่านั้น จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 17.30 น.